ลักษณะของเพลงหน้าพาทย์
                     โดยหลักใหญ่ๆ เพลงหน้าพาทย์แบ่งออกเป็นสองอย่างด้วยกันคือ เพลงหน้าพาทย์ใช้บรรเลงอย่างหนึ่งและเพลงหน้าพาทย์ใช้
ประกอบกิริยาอาการของตัวโขน ละครามบทอีกอย่างหนึ่งปี่พาทย์ที่ไม่ได้ประกอบการแสดงอิสระในการบรรเลงไม่กำหนดเวลาที่แน่นอนอยู่ที่ผู้บรรเลง
เป็นส่วนใหญ่ปี่พาทย์ ที่ประกอบการแสดงนั้นผู้บรรเลงจะต้องยึดผู้แสดงเป็นส่วนใหญ่ จะต้องใช้จังหวะที่แน่นอน ท่วงทำนองเพลงต้องให้สอดคล้อง
กับผู้แสดงจึงจะเกิดความสมดุลกัน และเกิดสุนทรีย์รสมากขึ้น
                     นอกจากจะแบ่งในลักษณะดังกล่าวแล้วเพลงหน้าพาทย์ยังแบ่งออกได้ตามลักษณะสูง ต่ำ ธรรมดา ได้อีกต่อไปนี้ คือ
                     เพลงหน้าพาทย์สูง ได้แก่

  1. หน้าพาทย์เป็นองค์พระพิราพรอน
  2. ตระนอน
  3. ตระนิมิต
  4. ตระบรรทมไพร
  5. ตระบรรทมสินธุ
  6. ตระพระประโคนธรรพ์
  7. เสมอเถร
  8. เสมอสามลา
  9. คุกพาทย์
  10. สาธุการ
  11. ชำนาญ
  12. บาทสกุณี ฯลฯ

             เพลงหน้าพาทย์ปกติ ได้แก่ หน้าพาทย์ที่ใช้กับการแสดงทั่วๆไป เช่น

  1. เพลงช้า
  2. เพลงเร็ว
  3. เชิด
  4. เสมอ
  5. รัว
  6. เหาะ
  7. ปฐม
  8. โคมเวียน
  9. บรเทศ
  10. กินนรรำ เป็นต้น

             การใช้เพลงหน้าพาทย์ทั้งสองลักษณะนี้ขึ้นอยู่กับโอกาสที่ใช้และฐานะของตัวผู้
             นอกจากนี้ถ้าจะแบ่งเพลงหน้าพาทย์ออกเป็นประเภทก็อาจจะแบ่งออกได้ ๓ แสดงเป็นตัวสามัญหรือสูงศักดิ์ ซึ่งแล้วแต่ตัวละคร
ในท้องเรื่องนั้นเอง ประเภท ดังนี้
ก. ประเภทเพลงครู ได้แก่ เพลงหน้าพาทย์ต่างๆ ที่ระบุไว้ในตำราซึ่งว่าด้วยการไหว้ครูของนายธนิต อยู่โพธิ์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร)
ที่มีการเรียงลำดับความสำคัญไว้ ดังนี้
-    สาธุการ
-    เพลงเชิดตระ
-    เชิดเพลงเหาะ
-    ตระประโคมทัพ
-   โหมโรงเช้า
-    เพลงเร็ว
-    แผละ
-    เสมอ
-    รัวสามลา
-    ลงสรงทรงเครื่อง
-    รำดาบ
-    เซ่นเหล้า
-    ตระสันนิบาต
-    กราวรำ
-    เชิดกลอง
แต่ปัจจุบันนี้เพลงประกอบการไหว้ครู ได้เรียกเพลงหน้าพาทย์มากกว่านี้ จะกล่าวถึงต่อไป
ข. เพลงหน้าพาทย์พิเศษ ได้แก่ เพลงที่อยู่นอกตำราไหว้ครู ใช้ประกอบการแสดงโขน ละคร และอื่นๆ เช่น
-    เพลงพญาเดิน
-    เพลงดำเนินพราหมณ์ เป็นต้น
ค. เพลงโหมโรง ได้แก่
-    เพลงโหมโรงเช้า
-    โหมโรมกลางวัน
-    โหมโรมเย็น สำหรับเพลงโหมโรงนี้จะกล่าวถึงต่อไป
            

นอกจากจะแบ่งไว้เป็นประเภทแล้วยังแบ่งไว้อีกเป็นโอกาสที่ใช้เพลงไหนอีกด้วย
                   ๑.  หน้าพาทย์ที่ใช้สำหรับกิริยาไป มาในระยะใกล้และไกล  เช่น


  เสมอ

ใช้สำหรับการไป มาในระยะใกล้ ๆ ของตัวโขน ละคร
นอกจากนี้ยังแบ่งออกเป็นเสมอตามลักษณะตัวละคร

  เสมอมาร

ใช้สำหรับพญายักษ์

  เสมอสามลา

ใช้สำหรับพญายักษ์ใหญ่ แสดงถึงการไป มา ด้วยความ
โอ่อ่าสง่างามและความภาคภูมิ  เช่น  ทศกัณฐ์  หรือ
การแสดงโขน  ตอนสามทัพ  ซึ่งมีตัวแสดง  คือ  ทศกัณฐ์ 
สหัสสเดชะ  มูลพลัม  เป็นต้น

  เสมอเถร

ใช้สำหรับฤษี และนักพรต

  เสมอตีนนก
  หรือบาทสกุณี 

  เสมอเข้าที่
  เสมอข้ามสมุทร
  เสมอผี          

ใช้สำหรับตัวแสดงที่เป็น ท้าวพระยามหากษัตริย์  แสดงถึงการไป มาด้วยกิริยาสง่างาม  เช่น  พระราม  พระลักษมณ์  อิเหนา  เป็นต้น
ใช้สำหรับเชิญฤษี  ครูอาจารย์  หรือใช้ในพิธีไหว้ครู
ใช้สำหรับพระรามยกกองทัพข้ามมหาสมุทรไปกรุงลงกา
ใช้สำหรับพญายม  ภูตผีปีศาจ  หรือพิธีไหว้ครู

                     เสมอตามสัญชาติ    ใช้ประกอบกิริยา ไป มาของตัวละครที่มีคุณสมบัติ
                                  ตัวละคร                   เป็นชาติต่าง ๆ ได้แก่  เสมอมอญ  เสมอลาว เสมอแขก      
                                                                     เสมอพม่า


  เชิด          

ใช้สำหรับตัวละครทั่วไปที่ไป มาในระยะทางไกลๆ หรือรีบด่วน

  เชิดฉาน

ใช้ในการติดตามจับสัตว์  เช่น  พระรามตามกวาง  ทุษยันต์ตามกวาง เป็นต้น

  ฉะเชิด

เป็นลีลาท่ารำเฉพาะของตัวแสดงเจ้าเงาะในกิริยาไป มา
ในระยะทางไกลเช่นเดียวกับเชิด

  เหาะ

ใช้สำหรับเทวดา นางฟ้าไป มาในที่ต่าง ๆ ด้วยกิริยา
รวดเร็ว  จะเป็นเดี่ยวหรือหมู่ก็ได้

  โคมเวียน 

ใช้สำหรับเทวดา นางฟ้า ไป มาเป็นหมวดหมู่  มีระเบียบ

  กลองโยน

ใช้ในกระบวนแห่หรือการเดินขบวนทัพ ของพระมหากษัตริย์ที่เคลื่อนย้ายไปอย่างช้า ๆ  

  พญาเดิน  

ใช้สำหรับการไป มาของตัวเอก  หรือตัวแสดงผู้สูงศักดิ์       
 หรือพระมหากษัตริย์  ในลักษณะเดี่ยวหรือหมู่

  กลม

ใช้สำหรับการไป มาของเทพเจ้า  เช่น  พระนารายณ์ 
พระวิษณุกรรม  สำหรับมนุษย์ที่ใช้เพลงกลม  คือ  เจ้าเงาะ ในเรื่องสังข์ทอง  เพราะเหาะเหินเดินอากาศได้อย่างเทวดา

  ชุบ

ใช้สำหรับนางกำนัล   คนรับใช้

  โล้

ใช้สำหรับการเดินทางไป มาทางน้ำ

  แผละ

ใช้สำหรับการไป มาของสัตว์ปีก  เช่น  ครุฑ  ฯลฯ

                            ๒.  หน้าพาทย์ที่ใช้สำหรับการรื่นเริงสนุกสนาน


  กราวรำ

ใช้สำหรับการแสดงในความหมายเยาะเย้ยหรือฉลอง
ความสำเร็จ  หรือสนุกสนานได้ชัยชนะ

  สีนวล 

ใช้สำหรับท่วงทีเยื้องยาตรนาดกราย  หรือความรื่นเริงบันเทิงใจของอิสตรี

  เพลงช้า เพลงเร็ว
 

ใช้สำหรับการเบิกบานในการไป มาอย่างสุภาพ  งดงามและแช่มช้อย  และเมื่อไปถึงที่หมายแล้วจะบรรเลงเพลงลา  
โดยปกติ เพลงเร็ว  ลา   เป็นเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงตอนขึ้นเฝ้า  เป็นต้น

                           ๓.  หน้าพาทย์ที่ใช้สำหรับการจัดทัพและตรวจพล  เช่น


  กราวนอก        

ใช้สำหรับการตรวจพลยกทัพของมนุษย์ และวานร

  กราวใน           

ใช้สำหรับการตรวจพลยกทัพของฝ่ายยักษ์

  กราวกลาง       

ใช้สำหรับการตรวจพลยกทัพของมนุษย์  ในการแสดงละคร

       ปฐม 

ใช้สำหรับการจัดทัพของแม่ทัพนายกองฝ่ายพระราม  
คือ  สุครีพ  ฝ่ายทศกัณฐ์  คือ  มโหทร

                            ๔.  หน้าพาทย์ที่ใช้สำหรับการต่อสู้และติดตาม


  เชิดกลอง       

ใช้ในการนำทัพ  หรือการต่อสู้ทั่วๆ ไป

  เชิดฉิ่ง            

ใช้ในการค้นหา  การลอบเข้าออกในสถานที่ใดที่หนึ่ง
การไล่หนี  จับกัน การเหาะลอยไปในอากาศ  และการใช้อาวุธแผลงศร  ขว้างจักร  เป็นต้น              

  เชิดนอก         

ใช้ประกอบกิริยาตัวละครที่มิใช่มนุษย์  ตามจับกัน  เช่น 
หนุมานจับเบญกาย   หนุมานจับสุพรรณมัจฉา ฯลฯ

                            ๕.  หน้าพาทย์ที่ใช้สำหรับการนอน   การอาบน้ำ   การกิน   เช่น


  ตระนอน               

ใช้สำหรับการนอน

  ตระนารายณ์   
  บรรทมสินธุ์
  ตระบรรทมไพร
  ลงสรง
  เซ่นเหล้า            

ใช้สำหรับพระนารายณ์นอน

ใช้สำหรับการนอนของตัวละครที่ค้างแรมในป่า 
ใช้สำหรับการอาบน้ำ
ใช้สำหรับประกอบการกินอาหาร  ดื่มสุรา  และใช้ในพิธีไหว้ครูโขน ละคร

                            ๖. หน้าพาทย์ที่ใช้ในการเล้าโลมแสดงความรักใคร่ และเสียใจ


  โลม

ใช้สำหรับบทเกี้ยวพาราสี  เล้าโลมด้วยความรัก

  ทยอย

ใช้สำหรับแสดงความเศร้าโศกเสียใจด้วยการร้องไห้

  โอด
  โอดเอม 

มีทั้งโอดชั้นเดียว  โอดสองชั้น   ใช้สำหรับร้องไห้เสียใจ 
ใช้สำหรับดีใจจนน้ำตาไหล

๗.  หน้าพาทย์ที่ใช้ในการแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์


  ตระนิมิต

ใช้สำหรับแปลงกาย  หรือ  นิรมิตขึ้นด้วยเวทมนตร์ 

  ชำนาญ

ใช้สำหรับนิรมิต ประสิทธิ์ประสาทพร  หรือแปลงตัว
(ใช้สำหรับยักษ์ พระ และนาง)

  ตระบองกัน

ใช้สำหรับนิรมิต  หรือประสิทธิ์ประสาทพร (ยกเว้นลิง)

  ตระสันนิบาต

ใช้ประกอบพิธีชุมนุม  กระทำพิธีสำคัญ ๆ เช่น  พิธีไหว้ครู

  คุกพาทย์และ
  รัวสามลา                

ใช้สำหรับการแผลงอิทธิฤทธิ์สำแดงเดช  หรือแสดงอารมณ์โกรธ  ดุดัน  น่าเกรงขาม  ฯลฯ       

            จตุพร   รัตนวราหะ (2519 : 17)  ได้จัดเพลงหน้าพาทย์ใช้ในโอกาสต่าง ๆ  ดังนี้
                     ๑.  กิริยาไปมา  มีเพลงเสมอ  เชิด  บาทสกุณี (เสมอตีนนก)  พญาเดิน  รุกร้น  ชุบ  เหาะ
โคมเวียน  เข้าม่าน  และกลม
                     ๒.  ใช้ในการยกพล   มีเพลงกราวนอก  กราวใน  และกราวกลาง
                     ๓.  ใช้ในเวลาแสดงความสนุกสนาน  รื่นเริง  มีเพลงกราวรำ  สีนวล  เพลงช้า  เพลงเร็ว  
ฉุยฉาย  แม่ศรี
                     ๔.  เมื่อตอนจะแผลงฤทธิ์  ใช้เพลงคุกพาทย์  รัวสามลา  ชำนาญ  ตระบองกัน  ตระนิมิต 
                     ๕.  เพลงที่ใช้ในการต่อสู้  มีเชิดกลอง  เชิดนอก  เชิดฉิ่ง (แผลงศร)
                     ๖.  แสดงความรัก  ใช้เพลงกล่อม  เพลงโลม
                     ๗.  เมื่อจะนอน  ใช้เพลงลงสรงโทน  ตระนอน  ชมตลาด  ตระบรรทมไพร
                     อาภรณ์ และ จาตุรงค์  มนตรีศาสตร์  จัดเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ในโอกาสต่าง ๆ ไว้ในหนังสือ 
วิชาชุดครูประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาของคุรุสภา  วิชานาฏศิลป์  ดังนี้
                     ๑.  หน้าพาทย์ประกอบกิริยาไป มา  กิริยาที่ไป มานั้น  ต้องการที่จะไป มาอย่างช้าๆ ไม่รีบร้อน  มักจะนิยมใช้เพลงเสมอ  ถ้าหากจะไปอย่างรีบร้อนและระยะทางไกลมักจะใช้เพลงเชิด   ถ้าการเดินทางไปทางอากาศมักจะใช้เพลงเหาะ  หรือโคมเวียน  ตัวอย่าง 
เช่น  ระบำดาวดึงส์  หรือ       ย่องหงิด  ระบำทั้งสองชนิดเป็นการแสดงการฟ้อนรำของเทวดานางฟ้า  ฉะนั้นเพลงที่รำออกจึงใช้เพลงเหาะ 
และเพลงโคมเวียน  ส่วนกิริยาอาการไปมาของสัตว์  เช่น  นก  มักนิยมใช้เพลงแผละ   แต่ถ้ากิริยาไปมาของคนศักดิ์ต่ำ  เช่น  นางกำนัลมักใช้เพลงชุบ
                     ๒.  หน้าพาทย์ประกอบการยกทัพ  หรือแสดงความพร้อมเพรียงเป็นหมู่คณะ  มักใช้ เพลงกราว  ในการแสดงโขนมักนิยมใช
้เพลงกราวนอกสำหรับการยกทัพของทัพลิง ส่วนยักษ์มักใช้เพลงกราวใน
                     ๓.  หน้าพาทย์ประกอบความสนุกสนานรื่นเริงในทำนองเยาะเย้ย  มักใช้เพลงกราวรำ   ถ้าแสดงความรื่นเริงธรรมดามักใช้เพลงสีนวล 
เพลงช้า  เพลงเร็ว  แต่ถ้าแสดงความภาคภูมิใจในความงามมักใช้เพลงฉุยฉาย  และเพลงแม่ศรี
                     ๔.  หน้าพาทย์ประกอบการแสดงฤทธิ์เดช  โดยทั่วไปใช้เพลงรัว  แต่ในบางครั้งก็ต้องใช้เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง เช่น ตระนิมิต 
ใช้ในโอกาสที่มีการแปลงกาย  และคุกพาทย์แสดงมหิทธิฤทธิ์
                     ๕.  หน้าพาทย์ประกอบการต่อสู้  โดยทั่ว ๆ ไปใช้เพลงเชิดกลอง  เชิดฉิ่ง  เชิดนอก  (เกี่ยวกับการหนีไล่)
                     ๖.  หน้าพาทย์ประกอบการแสดงอารมณ์  ที่ใช้โดยทั่วไป  ใช้เพลงโลมและเพลงกล่อมสำหรับอารมณ์รัก 
ถ้าเป็นหน้าพาทย์ประกอบการแสดงกิริยาร้องไห้คร่ำครวญหรือตายก็ใช้

                     ๗.  หน้าพาทย์เบ็ดเตล็ด  เช่น  การนอนใช้เพลงตระนอน  ส่วนการอาบน้ำมักใช้                  เพลงลงสรง  เป็นต้น

  คณะศิลปะศึกษา    สาขา นาฏศิลป์ไทย    ชั้น  ปริญญาตรี ปีที่   1