ความหมายของนาฏยศัพท์


ความหมายของนาฏยศัพท์    

          นาฏยศัพท์หมายถึงศัพท์เฉพาะในทางนาฏศิลป์  เป็นชื่อของลักษณะท่ารำของไทยนาฏยศัพท์ที่ใช้กันเกี่ยวกับท่ารำไทยนั้น 
มีมาก  ถ้าแยกตามลักษณะของการใช้จะแบ่งออกเป็น  3  หมวดคือ

1.             หมวดนามศัพท์   ได้แก่

1.1  วง  -  วงบน    วงล่าง   วงหน้า   วงกลาง   และวงพิเศษ

1.2  จีบ  -  จีบหงาย  จีบคว่ำ  จีบปรกหน้า  จีบปกข้าง  จีบหลัง  และจีบชายพก

1.3  การใช้เท้า  -   ยกเท้า  รวมเท้า  เหลื่อมเท้า  กระดกหลัง  กระดกเสี้ยว  และก้าวหน้า

        ( ก้าวหน้า   ก้าวข้าง   และก้าวไขว้ )

2.             หมวดกริยาศัพท์   แยกออกเป็น  2  พวกคือ

2.1  ศัพท์ที่ใช้เรียกเฉพาะขณะที่ใช้ท่า

        2.1.1  ส่วนศีรษะ  คอ  ไหล่             -  เอียง  ลักคอ  กล่อมไหล่  เอียงไหล่

        2.1.2  ส่วนมือ  แขน                          -  สลัดมือ  ม้วนมือ  คลายมือ  กรายมือ  ฉายมือ  ปาดมือ  รวมมือ

        2.1.3  ส่วนลำตัว                                 -  ใช้ตัว ( ตัวพระใช้เกลียวข้างตัวนางใช้เกลียวหน้า )

        2.1.4  ส่วนขา  เท้า                             -  ยืด  ยุบ  กระทบ ( เข่าและก้น )  ตบเท้า  แตะเท้า  วางหลัง 

กระทุ้ง  กะเทาะ  วางส้น  ฉายเท้า  ซอยเท้า  ขยั่น  สืบเท้า  ถัดเท้า

                       2.2  ศัพท์เสริม

                        2.2.1  ได้แก่   ศัพท์ที่เรียกเพิ่มเติมเพื่อเสริมท่ารำให้งาม  เช่น   ทรงตัว  ลดวง  ส่งมือ  ตึงเอว  เปิดคาง  กันเข่า ฯลฯ

                        2.2.2  ได้แก่  ศัพท์ที่เรียกท่ารำที่ไม่ถูกต้องตามกำหนดไว้  เช่น  วงล้า   วงหัก  รำลน  รำแอ้  รำเลื้อย  รำขย่มตัว  รำลักจังหวะ  ฯลฯ

               3.  หมวดนาฏศัพท์เบ็ดเตล็ด  เช่น  ตัวพระ   ตัวนาง   ตลกตามพระ  นางตลาด  นางกษัตริย์  นายโรง  ฯลฯ


                                   

คณะศิลปศึกษา    สาขา นาฏศิลป์ไทย    ชั้น  ปริญญาตรี ปีที่   1