...ประเภทของการขับร้องเพลงไทยเดิม....

   

 

ประเภทของการขับร้องเพลงไทยเดิม แบ่งได้ 4 วิธี
..........(1) การร้องลำลอง หมายถึง คนร้องร้องไปตามทำนองของตน และดนตรีก็บรรเลงประกอบไปโดยใช้ทำนองส่วนของตนต่างหาก แต่ทั้งคนร้องและคนบรรเลง จะต้องใช้ลูกฆ้องหรือเนื้อเพลงแท้ๆอย่างเดียวกัน เพียงแต่คนร้องบรรจุคำร้องลงไปตามลูกฆ้อง ส่วนนักดนตรีแปรลูกฆ้องเป็นทำนองเต็ม (Full Melody) ให้เข้ากับเครื่องดนตรีที่บรรเลง เพลงที่ใช้ร้องลำลอง มักจะเป็นเพลงที่ฟังได้ไพเราะ เช่น เพลงเต่าเห่ เพลงช้าสร้อยสน เพลงตุ้งติ้ง เพลงกลองโยน เป็นต้น

..........(2) การร้องคลอ หมายถึง ผู้ขับร้องร้องพร้อมไปกับดนตรี โดยผู้บรรเลงจะต้องบรรเลงดนตรีให้เข้ากับทางร้อง เพื่อฟังได้กลมกลืน เพลงที่จะะร้องคลอได้ไพเราะจะเป็นเพลงจำพวกเพลงสองชั้นธรรมดาทั่วไป

..........(3) การร้องส่ง หรือการร้องรับ หมายถึง ผู้ขับร้องร้องขึ้นก่อน เมื่ออจบแล้ว ดนตรีจึงรับด้วยลูกฆ้องเดียวกัน เพียงแต่ว่าการร้องนั้น ผู้ร้องถอดลูกฆ้องออกมาเป็นเอื้อน แต่ดนตรีถอดลูกฆ้องอออกมาเป็นทำนองเต็ม (Full Melody) การร้องส่งหรือการร้องรับนี้ ดนตรีจะต้องมีการสวมร้องด้วย เพื่อเป็นสะพานเชื่อมระหว่างการร้องที่ช้า และการบรรเลงที่ค่อนข้างรวดเร็ว และเพื่อความกลมกลืนในการบรรเลงด้วย

......... (4) การร้องเคล้า หมายถึง ผู้ขับร้องร้องไปตามทำนองเพลงของตน ส่วนดนตรีก็บรรเลงประกอบไปโดยใช้ทำนองส่วนของตน คล้ายๆ กับการร้องลำลอง แต่การร้องเคล้านี้ ดนตรีกับร้องเป็นคนละอย่างกัน แต่เมื่อร้องกับดนตรีเคล้าประสานกันแล้ว ทำให้มีความไพเราะเป็นอย่างยิ่ง

 

 

top

กลับหน้าหลัก