ฝ่ายกิจการนักเรียน นักศึกษา



   

นาง
ณพวรรน เยี่ยมสถาน
รองผู้อำนวยการ ฝ่ายกิจการนักเรียน นัศึกษา

 

ปรัชญา
"ปฏิบัติมีระเบียบวินัย ห่างไกลยาเสพติด"

ปณิธาน
"มุ่งส่งเสริม สร้างลักษณะนิสัยให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัย ปลูกฝังให้มีคุณธรรม จริยธรรม และไม่ยุ่งกับยาเสพติด"


ทำเนียบรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ฝ่ายกิจการนักเรียน นักศึกษา

ลำดับที่
ชื่อรองผู้อำนวยการ ฝ่ายกิจการนักเรียน นักศึกษา
ปีการศึกษา
1
นายสุรชาติ นุกูลธรรม 2521-2524
2
นายถวัลย์ หาญไชยนะ 2536-2541
3
นายสุวัฒน์ ขะมันจา 2541-2543
4
นายวิฑูรย์ พูนสวัสดิ์ 2544-2546
5
นางสมใจ สุจริต 2546
6
นายวิสูตร ผูกรอด 2547
7
นางณพวรรน เยี่ยมสถาน 30 สิงหาคม 2547 - ปัจจุบัน

 

การจัดแบ่งสายงานฝ่ายกิจการนักเรียน นักศึกษา มีสายงานที่ต้องปฏิบัติและรับผิดชอบ จำนวน 10 งาน

1. งานระเบียบวินัยนักเรียน นักศึกษา
2. งานอาจารย์ที่ปรึกษา
3 . งานสุขอนามัยและพยาบาล
4 . งานโภชนาการ
5 . งานหอพักนักเรียน นักศึกษา
6 . งานสวัสดิการนักเรียน นักศึกษา
7 . งานสภานักเรียน นักศึกษา
8 . งานกิจกรรมสหการ
9 . ง
านป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติด
10. งานกิจการพิเศษ


สถานที่ตั้ง

........สำนักงานฝ่ายกิจการนักเรียน นักศึกษา ตั้งอยู่ชั้นล่างอาคารเรียน 1 ห้อง 115 โทรศัพท์ 0-3561-1548 ต่อ 107

อาจารย์ที่ปรึกษา

นโยบายของท่านผู้อำนวยการ ได้กำหนดให้มีโครงการพ่อครู แม่ครู โดยให้ครูทุกท่านเป็นครูที่ปรึกษา มีนักเรียนในความรับผิดชอบ ท่านละ 8-12 คน (แล้วแต่จำนวนแต่ละชั้น) ในแต่ละระดับชั้นก็จะมีครูที่ปรึกษา ประมาณ 4-5 คน/ 1 ห้องเรียน


นโยบายส่งเสริมสุขภาพวิทยาลัยนาฎศิลปอ่างทอง

1. วิทยาลัยฯจะจัดให้มีการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาสุขภาพนักเรียน โดยการจัดการควบคุมดูแล ปรับปรุงภาวะต่างๆ และสิ่งแวดล้อมของวิทยาลัยฯ ให้ถูกต้องเหมาะสม อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ

2. จัดให้มีการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาสุขภาพ โดยมีห้องพยาบาลเป็นศูนย์กลางการให้บริการตรวจสุขภาพและปฐมพยาบาลเบื้องต้น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง จัดหาวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ เพื่อรองรับแผนการบริการอนามัยนักเรียน

3. จัดให้มีการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสุขภาพให้สอดคล้องตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี สร้างเจตคติ และมีการฝึกปฏิบัติให้เกิดทักษะ นำไปสู่พฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

4. จัดให้มีการคุ้มครองผู้บริโภคภายในวิทยาลัยฯ โดยจัดให้มีโครงการโภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย มีอาหารที่มีคุณค่าต่อสุขภาพ สะอาด ปลอดภัย ให้กับนักเรียนและบุคลากร สำรวจสุขาภิบาลอาหารในวิทยาลัยฯ และดำเนินการแก้ไขปรับปรุงในข้อที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน จัดกิจกรรมควบคุมความปลอดภัยของอาหาร เช่น การตรวจสารปนเปื้อนในอาหารจำพวก บอแรกซ์ น้ำส้มสายชู เชื้อจุลินทรีย์ ให้ความรู้เรี่องอาหารปลอดภัยแก่ผู้สัมผัสอาหาร ได้แก่ ผู้ปรุง ผู้เสริฟ ผู้ขาย ตรวจสุขภาพผู้สัมผัสอาหารอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

5. ส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพแก่นักเรียนและชุมชน โดยมีวิทยาลัยฯเป็นศูนย์กลาง สนับสนุนให้นักเรียนและบุคลากรในวิทยาลัยฯ มีการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โดยการจัดสถานที่ อุปกรณ์ และกิจกรรมการออกกำลังกาย กีฬาและนันทนาการ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาใช้สถานที่และอุปกรณ์ หรือเข้าร่วมกิจกรรมที่วิทยาลัยฯจ้ดขึ้นตามความเหมาะสม

6. ส่งเสริมการมีสุขภาพจิตที่ดี และเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยง โดยจัดให้มีระบบบริการให้คำปรึกษาแนะแนว และช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพกาย สุขภาพจิต และภาวะเสี่ยง รวมทั้งพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนที่มีปัญหาได้รับการช่วยเหลือจากระบบบริการของวิทยาลัยฯ โดยความร่วมมือของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้เกี่ยวข้องในชุมชน

7. จัดให้มีการพัฒนาระบบการเรียนรู้โดยมีผู้เรียนเป็นสำคัญ บูรณาการเชื่อมโยงสาระในหลักสูตรแกนกลาง และบูรณาการแบบข้ามกลุ่มสาระ เพื่อให้เกิดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสุขภาพในส่วนของหลักสูตรท้องถิ่น มีการสอดแทรกวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพดีโดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด นำวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น มาใช้ประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อสุขภาพ

8. ส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในวิทยาลัยฯ โดยจัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปี หรือประเมินสุขภาพตนเอง เช่นการตรวจเต้านม การวัดสมรรถภาพทางกาย การประเมินระดับความเครียด การหาดัชนีมวลกาย เพื่อค้นหาสุขภาพในเบื้องต้น
เพื่อให้บุคลากรทุกคนในวิทยาลัยฯมีการประเมินผลสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ ดำเนินการให้บุคลากรในวิทยาลัยฯเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องการไม่สูบบุหรี่ การไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การไม่เล่นการพนัน เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่จัดขึ้น ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพของบุคลากร เช่น ห้องพักครูที่มีแสงสว่างเพียงพอ มีการระบายอากาศที่ดี

9. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสุขภาพนักเรียน บุคลากรและชุมชน
จัดกิจกรรมร่วมระหว่างวิทยาลัยฯและชุมชน ภายใต้ความรู้สึกเป็นเจ้าของ และใช้ทรัพยากรร่วมกัน โดยเน้นกิจกรรมที่สร้างความตระหนักและเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ คอยติดตามเฝ้าระวังสิ่งที่จะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในชุมชน และนำเสนอต่อสาธารณชนเพื่อร่วมกันหาทางแก้ไข จัดทำข้อมูลและเอกสารที่อ่านเข้าใจง่ายแจกจ่าย เปิดโอกาสให้ประชาชนสะท้อนความคิดเห็นต่อการส่งเสริมสุขภาพ เช่น กล่องรับความคิดเห็น โทรศัพท์ โทรสาร ประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อ เช่นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น รายการวิทยุของท้องถิ่น เสียงตามสายในชุมชนและวิทยาลัยฯ

ข้อมูลจาก อ.ชมเพลิน ลิ้มสุนทร หัวหน้างานพยาบาล



top

กลับหน้าหลัก